มารู้จัก สมองส่วนที่สองของมนุษย์ "ลำไส้เล็ก"

(1/1)

SJLALA:
หน้าที่ของลำไส้เล็ก



1. ลำไส้เล็กส่วนต้น หรือดูโอเดนัม (Duodenum) เป็นลำไส้ส่วนที่ต่อมาจากกระ เพาะอาหารส่วนไพโรลัส (Pylorus) ลักษณะเป็นท่อกลวงโค้ง รูปตัวซี (C) ซึ่งลำไส้เล็กส่วนนี้จะล้อมเป็นวงที่ส่วนหัวของตับอ่อน (Pancreas) มีหน้าที่

-ย่อยอาหารต่อจากกระเพาะอาหาร โดยย่อยอาหารโมเลกุลใหญ่ให้เป็นโมเลกุลเล็ก

-สร้างน้ำย่อยอาหารโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต
และสร้างฮอร์โมนต่างๆที่ช่วยกระตุ้น การบีบตัวของกระเพาะ--อาหาร

-การหลั่งน้ำดีของตับและของถุงน้ำดี และการหลั่งน้ำย่อยจากตับอ่อน

2. ลำไส้เล็กส่วนกลาง หรือเจจูนัม (Jejunum) เป็นลำไส้เล็กส่วนที่อยู่ระหว่างดูโอเดนัมและลำไส้เล็กส่วนปลาย (ที่เรียกว่าไอเลียม, Ileum) เจจูนัมมีความยาวประมาณ 2 เมตรครึ่ง ลักษณะเป็นท่อยาวคดเคี้ยวไปมาในช่องท้อง มีหน้าที่

-ดูดซึมโมเลกุลของอาหารพวกแป้งและน้ำตาลที่เรียกว่าคาร์โบไฮเดรตที่ถูกย่อยสลายจนกลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่าโมโนแซคคาไรด์ (Monosaccharide) เข้าสู่กระแสเลือด

-ดูดซึมโมเลกุลของอาหารพวกโปรตีนที่ถูกย่อยสลายจนกลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่ากรดอะมิโน (Amino acid) เข้าสู่กระแสเลือด

-ดูดซึมโมเลกุลของอาหารพวกไขมันที่ถูกย่อยสลายจนกลายเป็นโมเลกุลขนาดเล็กที่เรียกว่ากรดไขมัน (Fatty acid) เข้าสู่กระแสเลือด

-ดูดซึมสารพวกแร่ธาตุ/เกลือแร่ วิตามิน และน้ำเข้าสู่กระแสเลือด

-หลั่งสารพวกอิมมูโนโกลบูลิน (Immunoglobulin) โดยเฉพาะอิมมูโนโกลบูลิน เอ (Im munoglobulin A, IgA) ทำหน้าที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันต้านทานโรคในทางเดินอาหาร

-สร้างฮอร์โมนบอมเบซิน (Bombesin), ซีครีติน (Secretin), และโคลีซีสโตไคนิน (Cho lecystokinin) เพื่อมีผลต่อการทำงานของกระเพาะอาหาร ถุงน้ำดี และท่อน้ำดี

-สามารถสร้างน้ำย่อยอาหารเพิ่มเติมได้ เช่น โปรตีเอส (Protease) ย่อยโปรตีน คาร์โบไฮเดรส (Carbohydrase) ย่อยอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล แต่หน้าที่นี้จะไม่ใช่หน้าที่หลักเหมือนลำไส้เล็กส่วนต้น



3. ลำไส้เล็กส่วนปลาย หรือไอเลียม (Ileum) เป็นลำไส้เล็กส่วนปลายอยู่ระหว่างเจจูนัม (Jejunum) และลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่

-การดูดซึมวิตามิน บี 12 จะเกิดที่ไอเลียมเป็นส่วนใหญ่

-ดูดซึมกรดน้ำดี (Bile acid, สารชนิดหนึ่งในน้ำดีที่ช่วยการย่อยอาหาร)

-สร้างสาร นิวโรเทนซิน (Neurotensin) ทำหน้าที่ลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อเรียบของกระเพาะอาหาร

-สร้างสารเอนเตอโรไครนิน (Enterocrinin) ทำหน้าที่ลดการทำงานของลำไส้เล็กด้วยกันเอง

-ฮอร์โมนเอนเตอโรกลูเคกอน (Enteroglucagon) ทำหน้าที่ในการเพิ่มปริมาณเซลล์ของลำไส้เล็ก

-กายวิภาคและสรีรวิทยาลำไส้ใหญ่

บางคนอ่านมาถึงตรงนี้รู้สึกเลย ว่าแค่ลำไส้เล็กยังมีหน้าที่และความสำคัญต่อระบบดูดซึม การสร้างฮอร์โมน การสร้างเอ็มไซม์ ฯลฯ

แล้วมันจะดีกว่ามั้ยที่คุณสามารถ ดูดแล ปรับสมดุลให้ลำไส้คุณกลับมาทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ #ชาเนเจอร์ที #ชาล้างลำไส้




นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ